7 วิธี เตรียมลูกด้วยการพัฒนาสกิลการเข้าสังคมอย่างมีความสุข

05 สิงหาคม 2567
thumbnail_blog_detail

การมีสกิลการเข้าสังคมที่ดีตั้งแต่แรกเริ่มทำให้เด็กๆ มีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับสิ่งรอบตัวและคนอื่นๆ ได้ เด็กๆ ที่มีสกิลการเข้าสังคมที่แข็งแรงจะรู้วิธีการรับมือกับสิ่งต่างๆ และไม่ตื่นกลัวที่จะใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่น

 

วันนี้เรารวบรวม 7 สกิลการเข้าสังคมที่เป็นประโยชน์มาให้คุณพ่อแม่ได้เตรียมลูกๆ ให้พร้อมในการเข้าสังคมกันค่ะ

 

aw-Halftoy-Blog-05.2.png

  1. การแบ่งปัน 

โดยส่วนมากเด็กเล็กๆ วัยสามถึงหกขวบจะมีความรู้สึกอยากแบ่งปันก็ต่อเมื่อตัวเองไม่อยากได้ของสิ่งนั้นหรือเบื่อแล้ว แต่ในเด็กที่โตขึ้นมาในวัยเจ็ดหรือแปดขวบอาจช่วยเหลือเพื่อนเพื่อนที่ต้องการหากพวกเขารู้สึกดีพอกับตัวเองแล้ว 

แน่นอนว่าการที่ลูกของเราเรียนรู้ที่จะแบ่งปัน ย่อมทำให้พวกเขาเข้าสังคมได้ดี มีเพื่อนได้มากขึ้น แต่เราไม่สามารถไปบังคับให้พวกเขาแบ่งปันได้ สิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือการชม และสร้างความรู้สึกเชิงบวก เมื่อใดก็ตามที่ลูกแบ่งปันและมีน้ำใจกับผู้อื่น

  1. การร่วมมือ

เด็กๆ ควรได้รับการส่งเสริมทักษะการทำงานร่วมกับคนอื่นและการร่วมมือกับเพื่อนๆ โดยไม่จำเป็นที่พวกเขาจะต้องทำหน้าที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม แต่พวกเขาควรเป็นส่วนหนึ่งที่ได้เสนอความคิดและลงมือทำ 

คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมทักษะการร่วมมือของลูกโดยการให้ลูกได้ทำกิจกรรม หรืองานบ้านที่ต้องใช้ความร่วมมือกัน เช่น ช่วยกันทำอาหารกินกันที่บ้าน โดยแต่ละคนมีหน้าที่ต่างกันออกไป ในขณะที่พี่เป็นคนล้างและหั่นผัก น้องอาจจะเป็นคนนวดแป้งก็ได้
 

  1. ทักษะการฟัง

ทักษะการฟังเป็นทักษะที่สำคัญในการเข้าสังคม เด็กๆ ต้องรู้ว่าการตั้งใจฟังใครสักคนอย่างตั้งใจโดยไม่เล่นมือถือไปด้วย หรือไม่พูดแทรกคนอื่น คือมารยาทการเข้าสังคมที่พึงกระทำ 

ผู้ปกครองควรฝึกด้วยการอ่านหนังสือให้ลูกลูกฟังแล้วหยุดถามเป็นพักๆ ว่าเรื่องที่เล่าไปเมื่อครู่เกี่ยวกับอะไร แล้วลูกมีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง
 

  1. ทำตามคำสั่ง

เด็กที่ไม่สามารถทำตามคำสั่งได้เลยมักนำไปสู่การมีปัญหาในอนาคต เช่น ไม่ยอมทำการบ้าน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎ 

พ่อแม่ควรฝึกอย่างใจเย็นด้วยการออกคำสั่งทีละคำสั่ง โดยเป็นคำสั่งที่ไม่ใช่คำถาม หรือประโยคขอร้อง และอย่าลืมชมเชยเมื่อลูกปฏิบัติตามคำสั่ง เช่นขอบคุณมากนะลูกที่ล้างจานตั้งแต่ครั้งแรกที่พ่อบอก
 

  1. การเคารพพื้นที่ส่วนบุคคล

เป็นธรรมดาที่เด็กอยากจะใกล้ชิดคนรอบข้างตลอดเวลา ดังนั้นพ่อแม่ควรสอนให้เด็กเคารพพื้นที่และเวลาส่วนตัวของคนอื่น ๆ เช่น ถ้าเห็นประตูปิดอยู่ให้เคาะก่อน หรือไม่ควรแตะตัวคนอื่นโดยไม่ได้รับการอนุญาต รวมถึงควรเว้นช่องว่างแค่ไหนเวลาต่อแถวหรือคุยกับผู้คน
 

  1. การสบตา

แน่นอนว่าการสบตากันเป็นส่วนสำคัญของการสื่อสาร พ่อแม่จึงควรสอนให้ลูกสบตาคู่สนทนาและหลีกเลี่ยงการมองไปที่อื่น ซึ่งสามารถฝึกง่ายๆโดยการที่พ่อแม่มองตาลูกตลอดเมื่อลูกต้องการเล่าเรื่องราวต่าง ๆ

 

        7. การมีมารยาทที่ดี 
ปลูกฝังคำว่าขอบคุณและขอโทษให้เป็นนิสัยแก่ลูกๆ เริ่มจากการที่พ่อแม่ก็ต้องพูดดีๆกับลูกๆเช่นกัน เมื่อลูกทำอะไรเชิงบวกให้ ก็อย่าลืมขอบคุณ และหากคุณพ่อคุณแม่ทำอะไรผิดพลาดก็อย่าอายที่จะขอโทษลูกกลับคืนด้วย

เลือกดูข่าวสารและบทความเพิ่มเติม